วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจับยึดชิ้นงาน

การจับยึดชิ้นงาน
วัตถุประสงค์ทั่วไป เข้าใจการจับยึดชิ้นงาน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หลังจากผู้เรียนผ่านการเรียนบนนี้แล้ว จะแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1. บอกความของการจับยึดชิ้นงานได้
2. บอกลักษณะปากกาจับงานและc-camp
3. บอกการทำงานของปากกาจับงานและc-camp
4. บอกลักษณะการจับยึดชิ้นงานได้
5. บอกประเภทการจับยึดชิ้นงาน



























การจับยึดชิ้นงาน
1. การจับยึดชิ้นงานกัด คือ การทำให้ชิ้นงานที่จะทำการกัดหรือตัดด้วยเครื่องกล ตรึงแน่นกับส่วนกับส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งทำได้โดยแรงคนหรือแรงเครื่อง การจับชิ้นต้องพิจารณาให้ถูกตามหลักของแรง กฎของโมเมนต์ และเวลาในการจับ
2. ลักษณะในการจับชิ้นงาน
ในการออกแบบรูปแบบการกัดชิ้นงานจะต้องรู้ถึงลักษณะในการจับชิ้นงานเสียก่อนเพราะหากจับชิ้นงานไม่ถูกวิธีอาจจะต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายการจับชิ้นงานกัดแบ่งได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเครื่องกัดชิ้นงานนั้นๆแต่ทั่วไปมักแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆคือ
• การจับชิ้นงานด้านเดียว
• การจับชิ้นงานสองด้าน
• การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลาง
• การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลางสองตำแหน่ง
• การจับด้วยแรงตัวเอง
3. การยึดจับชิ้นงาน การยึดจับชิ้นงานเป็นการป้องกันความคลาดเคลื่อนโดยการยึดจับให้แน่น เพื่อการตอก ยึด เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน


รูปที่ 1 อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน




4. การยึดจับชิ้นงานด้วยปากกาจับงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการตัด เลื่อย งอ หรือ การสกัด เพื่อความมั่นคง

รูปที่ 2 ปากกาจับงาน



รูปที่ 3 ปากกาจับงาน


ที่รูป 4 ปากกาจับงาน
5. ปากกาจับงาน ที่ใช้ในการจับงานมีหลากหลายประเภท ตามคุณสมบัติและลักษณะจุดประสงค์เพื่อการยึดจับให้แน่นเป็นประการสำคัญ

รูปที่ 5 ลักษณะของc-camp


รูปที่ 6 ลักษณะการใช้งานของc-camp

รูปที่ 7 ลักษณะการใช้งานของปากกาจับงาน
6. การจับงานด้านเดียว
1.จับโดยตรง แรงจะกระทำบนชิ้นงานโดยตรง เช่น เช่นปากกาจับชิ้นงานแบบปากเลื่อนข้างเดียว
2.จับทางอ้อม บนชิ้นงานชิ้นเดียงหรือหลายชิ้น แรงกระทำกดที่ตำแหน่งนอกชิ้นงานละถ่ายแรงมายังชิ้นงานโดยผ่านตัวกด

รูปที่ 7. จับโดยตรง

รูปที่ 8 จับทางอ้อม
7. การจับงานสองด้าน
1.จับโดยตรง
2.จับชิ้นงานตั้งแต่ 1 คู่เป็นต้นไป

รูปที่ 9 การจับงานสองด้าน
8. การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลาง
แรงกดกระทำจากชุดจับชิ้นงาน 2 หรือ 3 ชิ้นกดผ่านแนวศูนย์กลางของชิ้นงานและการเคลื่อนที่ของชุดจับชิ้นงานแต่ละชิ้นเคลื่อนเขาหาชิ้นงานด้วยความเร็วเท่ากันอย่างสม่ำเสมอและเท่า ๆ กัน



รูปที่ 10 การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลาง
9. การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลางสองตำแหน่ง
ลักษณะการจับชิ้นงานเหมือนกันกับการจับชิ้นงานผ่านศูนย์กลางธรรมดาเพียงแต่มีจุดที่กด 2 จุด กดชนกันและแต่ละตำแหน่งอาจมีตัวกดถึง 3 ตัวก็ได้


รูปที่ 11 การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลางสองตำแหน่ง





10. การจับชิ้นงานด้านเดียว
รูปแบบการจับชิ้นงานประเภทนี้จะได้แรงกดโดตรงตรงกับชิ้นงาน เหมาะสำหรับจับงานที่มีแรงกดกระทำเพียงทิศเดียว เช่นการกัดผิวโลหะแนวตั้ง เป็นต้น

รูปที่ 12 การจับชิ้นงานด้านเดียว
12. จับแบบตายตัวด้วยสลักเกลียว
การจับด้วยสลักเกลียวเป็นตัวกดชิ้นงานนั้นสามารถกดได้รวดเร็ว ถ้าสลักเกลียวนั้นมีจำนวนมากกว่า 1 ปากต้องระมัดระวังเรื่องเกลียวชำรุดเพราะความชันของเกลียวมีมาก

รูปที่ 13. สลักเกลียวกดโดยตรง รูปที่ 14. สลักเกลียวตั้งเอียงตัวกด


รูปที่ 15. ตั้งตรงตัวกดมีหมอนรองแบบ

13. ชุดจับชิ้นงานโดยใช้น๊อตแบบมือหมุนติดอยู่ที่หัว กดเหล็กกด และกดชิ้นงาน การวางตำแหน่งหมอนรองจะต้องไม่ต่ำกว่าชิ้นงาน

รูปที่ 16. ชุดจับชิ้นงานโดยใช้น๊อตแบบมือหมุนติดอยู่ที่หัว

14. ปากกาจับชิ้นงานบนเครื่องกัด นิยมใช้สลักเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู มีเกลียวซ้าย-ขวา อยู่ในแกนเดียวกันเพื่อให้ปากกาเลื่อนเข้าหาชิ้นงานเร็วขึ้น


รูปที่ 17. ปากกาจับชิ้นงานบนเครื่องกัด


15. การจับชิ้นงานแบบยืดหยุ่น คือ การจับชิ้นงานที่มีโอกาสเคลื่อนตัวได้เมื่อ Over load อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ สปริง กระบอกไฮดรอลิก ลม






รูปที่ 18. การจับชิ้นงานแบบยืดหยุ่น


16. เหล็กตัว U
เหล็กกดตัวยูนิยมใช้มากในเครื่องกัดโลหะ โดยใช้T-Slot ของเครื่องกัดเป็นรางยึดสลักเกลียวกด ช่วงด้านกดยาวประมาณ ¼ ของช่วงคานกด

รูปที่ 19. เหล็กตัว U
17. เหล็กแบบคานมีร่องบังคับ
เหล็กแบบคานมีร่องบังคับตำแหน่งกดสามารถกดชิ้นงานได้ตามความสูง ๆ กัน
เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได สามารถปรับ ระดับความสูงได้รวดเร็ว และรับแรงกดได้สูงกว่าแบบอื่น ๆ

รูปที่ 20. เหล็กแบบคานมีร่องบังคับ
18. เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได
เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได สามารถปรับ ระดับความสูงได้รวดเร็ว และรับแรงกดได้สูงกว่าแบบอื่น ๆ


รูปที่ 21. เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได
















แบบทดสอบท้ายบท
1.การจับยึดชิ้นงานคืออะไร
ก. การทำให้ชิ้นงานที่จะทำการกัดหรือตัดด้วยเครื่องกล ตรึงแน่นกับส่วนกับ ส่วนใดส่วนหนึ่งโดย แรงคนหรือแรงเครื่อง การจับชิ้นต้องพิจารณาให้ถูกตามหลัก ของแรง กฎของโมเมนต์
ข. การทำให้ชิ้นงานที่จะทำการกัดหรือตัดด้วยเครื่องกล พร้อมที่จะใช้งานโดของ เราเอง
ค. การทำให้ชิ้นงานที่จะทำการกัดติดกับเครื่องกัด
ง. ผิดทุกข้อ

2.การจับยึดชิ้นงานบนเครื่องกัดนิยมจับโดยอะไร
ก. ชุดจับชิ้นงานโดยใช้น๊อตแบบมือหมุนติดอยู่ที่หัว
ข. การจับชิ้นงานแบบยืดหยุ่นโดยใช้สปริง
ค.เหล็กตัวยู ใช้สลักเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู มีเกลียวซ้าย-ขวา อยู่ใน แกน เดียวกัน
ง. ตั้งตรงตัวกดมีหมอนรอง

3.ข้อใดเป็นประโยชน์ของการจับยึดชิ้นงานแบบยืดหยุ่น

ก. ชิ้นงานตรึงแน่นถาวร ข. ชิ้นงานเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา
ค. ชิ้นงานมีความเสียหายน้อยเมื่อOver load ง. ถูกทุกข้อ

4.การจับยึดชิ้นงานมีกี่ประเภท

ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท





5.เหล็กกดแบบใดรับแรงกดได้ดี

ก. เหล็กแบบคานมีร่องบังคับตำแหน่งกด
ข. เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได
ค. เหล็กตัว U
ง. เหล็กกดแบบฐานรองเป็นสกรุ


6.อุปกรณชนิดใดใช้ตั้งปากกาจับงานบนเลื่อยกล


ก. ฉาก ข. ประแจ
ค. ใบวัดมุม ง. ระดับน้ำ

7.จากรูปการจับงานด้วยปากาถูกหรือไม่ เพราะเหตุใด


ก. ถูก เพราะมีแท่นรอง ข. ถูก เพราะจับตามวิธีสากล
ค. ไม่ เพราะต้องใช้c-campช่วย ง. ไม่ เพราะที่กล่าวมาไม่มีข้อถูก



8.ปากกาจับงานบนเครื่องกัดนิยมใช้สลักเกลียวแบบใด




ก. เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู ข. เกลียวสามเหลี่ยม
ค. เกลียวสี่เหลี่ยมทั่วไป ง. ใช้เกลียวแบบใดก็ได้


9.การจับชิ้นแบบยืดหยุ่น คือข้อใด

ก.การจับชิ้นงานที่มีโอกาสเคลื่อนตัวได้ ข.การจับชิ้นงานที่เคลื่อนตัวได้
ค.Over load ง.ถูกทุกข้อ

10.เหล็กกดมีฐานรองแบบขั้นบันไดมีประโยชน์อย่างไร


ก.จับงานขนาดใหญ่ได้สะดวก ข.สามารถปรับระดับความสูงได้รวดเร็ว
ค.รับแรงกดได้ดี ง.สามารถจับงานได้แน่นนอน





11.จากรูปเป็นการจับชิ้นงานชนิดใด


ก. สลักเกลียวกดโดยตรง ข. สลักเกลียวตั้งเอียงตัวกด
ค. ตั้งตรงตัวกดมีหมอนรอง ง. ตั้งตรงกดไม่มีหมอนรอง

12.การจับงานโดยตรงจะใช้อุปกรณชนิดใด


ก. ประแจปากตาย ข.ประแจเลื่อน
ค. c-camp ง. ปากกาจับงาน

13.จากรูปการจับชิ้นงานแบบนี้เป็นการกดวิธีใด


ก.การจับแบบจับศูนย์กลาง ข.การจับสองด้าน
ค.การจับด้านเดียว ง.การจับชิ้นงานกดด้านข้าง



14.การจับยึดชิ้นงานในงานกัดมีกี่ประเภท

ก. มี 2 ประเภท ข. มี 4 ประเภท
ค. มี 5 ประเภท ง. มี 6 ประเภท


15.การจับงานด้านเดียวมีกี่ข้อ อะไรบ้าง
ก.มี 1 ข้อ จับตรงกลางชิ้นงาน
ข.มี 2 ข้อ จับโดยตรงและจับทางอ้อม
ค.มี 3 ข้อ จับทแยงจับโดยตรงและจับทางอ้อม
ง.มี 4 ข้อ จับโดยตรงจับทางอ้อมจับคอบของงานและจับศูนย์กลาง


16.รูปใดเป็นการจับงานผ่านแนวศูนย์กลาง

ก. ข.

ค. ง.





17.จากรูปเหล็กคานแบบมีร่องมีประโยชน์อย่างไร

ก.สะดวกในการกด ข.สามารถกดชิ้นงานได้ตามความสูง
ค.มีตำแหน่งกดดี ง.กดชิ้นงานได้มาก

18.เหล็กตัว U มีช่วงด้านกดยาวประมาณเท่าไร

ก. 1/4 นิ้ว ข. 2/4 นิ้ว
ค. 3/4 นิ้ว ง. 4/4 นิ้ว


19.การจับชิ้นงานผ่าแนวศูนย์กลางมีกี่จุด

ก. 1-2 จุด ข. 2-3 จุด
ค. 2-4 จุด ง. 4-6 จุด

20.เหล็กตัว U มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ก.เหล็กตัว U น๊อตตัวเมีย ข.เหล็กตัว U T-Slot
ค.เหล็กตัว U สลักเกลียว ง.เหล็กตัว U น็อตตัวเมียและสลักเกลียว



เฉลยแบบทดสอบท้ายบทเรียน
1. ก.
2. ค.
3. ค.
4. ง.
5. ข.
6. ก
7. ก.
8. ก.
9. ค.
10. ข.
11. ข.
12. ง.
13. ค.
14. ค.
15. ข.
16. ค.
17. ข.
18. ก.
19. ข.
20. ข.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น