วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจับยึดชิ้นงาน

การจับยึดชิ้นงาน
วัตถุประสงค์ทั่วไป เข้าใจการจับยึดชิ้นงาน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หลังจากผู้เรียนผ่านการเรียนบนนี้แล้ว จะแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1. บอกความของการจับยึดชิ้นงานได้
2. บอกลักษณะปากกาจับงานและc-camp
3. บอกการทำงานของปากกาจับงานและc-camp
4. บอกลักษณะการจับยึดชิ้นงานได้
5. บอกประเภทการจับยึดชิ้นงาน



























การจับยึดชิ้นงาน
1. การจับยึดชิ้นงานกัด คือ การทำให้ชิ้นงานที่จะทำการกัดหรือตัดด้วยเครื่องกล ตรึงแน่นกับส่วนกับส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งทำได้โดยแรงคนหรือแรงเครื่อง การจับชิ้นต้องพิจารณาให้ถูกตามหลักของแรง กฎของโมเมนต์ และเวลาในการจับ
2. ลักษณะในการจับชิ้นงาน
ในการออกแบบรูปแบบการกัดชิ้นงานจะต้องรู้ถึงลักษณะในการจับชิ้นงานเสียก่อนเพราะหากจับชิ้นงานไม่ถูกวิธีอาจจะต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายการจับชิ้นงานกัดแบ่งได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเครื่องกัดชิ้นงานนั้นๆแต่ทั่วไปมักแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆคือ
• การจับชิ้นงานด้านเดียว
• การจับชิ้นงานสองด้าน
• การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลาง
• การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลางสองตำแหน่ง
• การจับด้วยแรงตัวเอง
3. การยึดจับชิ้นงาน การยึดจับชิ้นงานเป็นการป้องกันความคลาดเคลื่อนโดยการยึดจับให้แน่น เพื่อการตอก ยึด เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน


รูปที่ 1 อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน




4. การยึดจับชิ้นงานด้วยปากกาจับงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการตัด เลื่อย งอ หรือ การสกัด เพื่อความมั่นคง

รูปที่ 2 ปากกาจับงาน



รูปที่ 3 ปากกาจับงาน


ที่รูป 4 ปากกาจับงาน
5. ปากกาจับงาน ที่ใช้ในการจับงานมีหลากหลายประเภท ตามคุณสมบัติและลักษณะจุดประสงค์เพื่อการยึดจับให้แน่นเป็นประการสำคัญ

รูปที่ 5 ลักษณะของc-camp


รูปที่ 6 ลักษณะการใช้งานของc-camp

รูปที่ 7 ลักษณะการใช้งานของปากกาจับงาน
6. การจับงานด้านเดียว
1.จับโดยตรง แรงจะกระทำบนชิ้นงานโดยตรง เช่น เช่นปากกาจับชิ้นงานแบบปากเลื่อนข้างเดียว
2.จับทางอ้อม บนชิ้นงานชิ้นเดียงหรือหลายชิ้น แรงกระทำกดที่ตำแหน่งนอกชิ้นงานละถ่ายแรงมายังชิ้นงานโดยผ่านตัวกด

รูปที่ 7. จับโดยตรง

รูปที่ 8 จับทางอ้อม
7. การจับงานสองด้าน
1.จับโดยตรง
2.จับชิ้นงานตั้งแต่ 1 คู่เป็นต้นไป

รูปที่ 9 การจับงานสองด้าน
8. การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลาง
แรงกดกระทำจากชุดจับชิ้นงาน 2 หรือ 3 ชิ้นกดผ่านแนวศูนย์กลางของชิ้นงานและการเคลื่อนที่ของชุดจับชิ้นงานแต่ละชิ้นเคลื่อนเขาหาชิ้นงานด้วยความเร็วเท่ากันอย่างสม่ำเสมอและเท่า ๆ กัน



รูปที่ 10 การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลาง
9. การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลางสองตำแหน่ง
ลักษณะการจับชิ้นงานเหมือนกันกับการจับชิ้นงานผ่านศูนย์กลางธรรมดาเพียงแต่มีจุดที่กด 2 จุด กดชนกันและแต่ละตำแหน่งอาจมีตัวกดถึง 3 ตัวก็ได้


รูปที่ 11 การจับชิ้นงานผ่านแนวศูนย์กลางสองตำแหน่ง





10. การจับชิ้นงานด้านเดียว
รูปแบบการจับชิ้นงานประเภทนี้จะได้แรงกดโดตรงตรงกับชิ้นงาน เหมาะสำหรับจับงานที่มีแรงกดกระทำเพียงทิศเดียว เช่นการกัดผิวโลหะแนวตั้ง เป็นต้น

รูปที่ 12 การจับชิ้นงานด้านเดียว
12. จับแบบตายตัวด้วยสลักเกลียว
การจับด้วยสลักเกลียวเป็นตัวกดชิ้นงานนั้นสามารถกดได้รวดเร็ว ถ้าสลักเกลียวนั้นมีจำนวนมากกว่า 1 ปากต้องระมัดระวังเรื่องเกลียวชำรุดเพราะความชันของเกลียวมีมาก

รูปที่ 13. สลักเกลียวกดโดยตรง รูปที่ 14. สลักเกลียวตั้งเอียงตัวกด


รูปที่ 15. ตั้งตรงตัวกดมีหมอนรองแบบ

13. ชุดจับชิ้นงานโดยใช้น๊อตแบบมือหมุนติดอยู่ที่หัว กดเหล็กกด และกดชิ้นงาน การวางตำแหน่งหมอนรองจะต้องไม่ต่ำกว่าชิ้นงาน

รูปที่ 16. ชุดจับชิ้นงานโดยใช้น๊อตแบบมือหมุนติดอยู่ที่หัว

14. ปากกาจับชิ้นงานบนเครื่องกัด นิยมใช้สลักเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู มีเกลียวซ้าย-ขวา อยู่ในแกนเดียวกันเพื่อให้ปากกาเลื่อนเข้าหาชิ้นงานเร็วขึ้น


รูปที่ 17. ปากกาจับชิ้นงานบนเครื่องกัด


15. การจับชิ้นงานแบบยืดหยุ่น คือ การจับชิ้นงานที่มีโอกาสเคลื่อนตัวได้เมื่อ Over load อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ สปริง กระบอกไฮดรอลิก ลม






รูปที่ 18. การจับชิ้นงานแบบยืดหยุ่น


16. เหล็กตัว U
เหล็กกดตัวยูนิยมใช้มากในเครื่องกัดโลหะ โดยใช้T-Slot ของเครื่องกัดเป็นรางยึดสลักเกลียวกด ช่วงด้านกดยาวประมาณ ¼ ของช่วงคานกด

รูปที่ 19. เหล็กตัว U
17. เหล็กแบบคานมีร่องบังคับ
เหล็กแบบคานมีร่องบังคับตำแหน่งกดสามารถกดชิ้นงานได้ตามความสูง ๆ กัน
เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได สามารถปรับ ระดับความสูงได้รวดเร็ว และรับแรงกดได้สูงกว่าแบบอื่น ๆ

รูปที่ 20. เหล็กแบบคานมีร่องบังคับ
18. เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได
เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได สามารถปรับ ระดับความสูงได้รวดเร็ว และรับแรงกดได้สูงกว่าแบบอื่น ๆ


รูปที่ 21. เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได
















แบบทดสอบท้ายบท
1.การจับยึดชิ้นงานคืออะไร
ก. การทำให้ชิ้นงานที่จะทำการกัดหรือตัดด้วยเครื่องกล ตรึงแน่นกับส่วนกับ ส่วนใดส่วนหนึ่งโดย แรงคนหรือแรงเครื่อง การจับชิ้นต้องพิจารณาให้ถูกตามหลัก ของแรง กฎของโมเมนต์
ข. การทำให้ชิ้นงานที่จะทำการกัดหรือตัดด้วยเครื่องกล พร้อมที่จะใช้งานโดของ เราเอง
ค. การทำให้ชิ้นงานที่จะทำการกัดติดกับเครื่องกัด
ง. ผิดทุกข้อ

2.การจับยึดชิ้นงานบนเครื่องกัดนิยมจับโดยอะไร
ก. ชุดจับชิ้นงานโดยใช้น๊อตแบบมือหมุนติดอยู่ที่หัว
ข. การจับชิ้นงานแบบยืดหยุ่นโดยใช้สปริง
ค.เหล็กตัวยู ใช้สลักเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู มีเกลียวซ้าย-ขวา อยู่ใน แกน เดียวกัน
ง. ตั้งตรงตัวกดมีหมอนรอง

3.ข้อใดเป็นประโยชน์ของการจับยึดชิ้นงานแบบยืดหยุ่น

ก. ชิ้นงานตรึงแน่นถาวร ข. ชิ้นงานเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา
ค. ชิ้นงานมีความเสียหายน้อยเมื่อOver load ง. ถูกทุกข้อ

4.การจับยึดชิ้นงานมีกี่ประเภท

ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท





5.เหล็กกดแบบใดรับแรงกดได้ดี

ก. เหล็กแบบคานมีร่องบังคับตำแหน่งกด
ข. เหล็กกดแบบมีฐานรองเป็นขั้นบันได
ค. เหล็กตัว U
ง. เหล็กกดแบบฐานรองเป็นสกรุ


6.อุปกรณชนิดใดใช้ตั้งปากกาจับงานบนเลื่อยกล


ก. ฉาก ข. ประแจ
ค. ใบวัดมุม ง. ระดับน้ำ

7.จากรูปการจับงานด้วยปากาถูกหรือไม่ เพราะเหตุใด


ก. ถูก เพราะมีแท่นรอง ข. ถูก เพราะจับตามวิธีสากล
ค. ไม่ เพราะต้องใช้c-campช่วย ง. ไม่ เพราะที่กล่าวมาไม่มีข้อถูก



8.ปากกาจับงานบนเครื่องกัดนิยมใช้สลักเกลียวแบบใด




ก. เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู ข. เกลียวสามเหลี่ยม
ค. เกลียวสี่เหลี่ยมทั่วไป ง. ใช้เกลียวแบบใดก็ได้


9.การจับชิ้นแบบยืดหยุ่น คือข้อใด

ก.การจับชิ้นงานที่มีโอกาสเคลื่อนตัวได้ ข.การจับชิ้นงานที่เคลื่อนตัวได้
ค.Over load ง.ถูกทุกข้อ

10.เหล็กกดมีฐานรองแบบขั้นบันไดมีประโยชน์อย่างไร


ก.จับงานขนาดใหญ่ได้สะดวก ข.สามารถปรับระดับความสูงได้รวดเร็ว
ค.รับแรงกดได้ดี ง.สามารถจับงานได้แน่นนอน





11.จากรูปเป็นการจับชิ้นงานชนิดใด


ก. สลักเกลียวกดโดยตรง ข. สลักเกลียวตั้งเอียงตัวกด
ค. ตั้งตรงตัวกดมีหมอนรอง ง. ตั้งตรงกดไม่มีหมอนรอง

12.การจับงานโดยตรงจะใช้อุปกรณชนิดใด


ก. ประแจปากตาย ข.ประแจเลื่อน
ค. c-camp ง. ปากกาจับงาน

13.จากรูปการจับชิ้นงานแบบนี้เป็นการกดวิธีใด


ก.การจับแบบจับศูนย์กลาง ข.การจับสองด้าน
ค.การจับด้านเดียว ง.การจับชิ้นงานกดด้านข้าง



14.การจับยึดชิ้นงานในงานกัดมีกี่ประเภท

ก. มี 2 ประเภท ข. มี 4 ประเภท
ค. มี 5 ประเภท ง. มี 6 ประเภท


15.การจับงานด้านเดียวมีกี่ข้อ อะไรบ้าง
ก.มี 1 ข้อ จับตรงกลางชิ้นงาน
ข.มี 2 ข้อ จับโดยตรงและจับทางอ้อม
ค.มี 3 ข้อ จับทแยงจับโดยตรงและจับทางอ้อม
ง.มี 4 ข้อ จับโดยตรงจับทางอ้อมจับคอบของงานและจับศูนย์กลาง


16.รูปใดเป็นการจับงานผ่านแนวศูนย์กลาง

ก. ข.

ค. ง.





17.จากรูปเหล็กคานแบบมีร่องมีประโยชน์อย่างไร

ก.สะดวกในการกด ข.สามารถกดชิ้นงานได้ตามความสูง
ค.มีตำแหน่งกดดี ง.กดชิ้นงานได้มาก

18.เหล็กตัว U มีช่วงด้านกดยาวประมาณเท่าไร

ก. 1/4 นิ้ว ข. 2/4 นิ้ว
ค. 3/4 นิ้ว ง. 4/4 นิ้ว


19.การจับชิ้นงานผ่าแนวศูนย์กลางมีกี่จุด

ก. 1-2 จุด ข. 2-3 จุด
ค. 2-4 จุด ง. 4-6 จุด

20.เหล็กตัว U มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ก.เหล็กตัว U น๊อตตัวเมีย ข.เหล็กตัว U T-Slot
ค.เหล็กตัว U สลักเกลียว ง.เหล็กตัว U น็อตตัวเมียและสลักเกลียว



เฉลยแบบทดสอบท้ายบทเรียน
1. ก.
2. ค.
3. ค.
4. ง.
5. ข.
6. ก
7. ก.
8. ก.
9. ค.
10. ข.
11. ข.
12. ง.
13. ค.
14. ค.
15. ข.
16. ค.
17. ข.
18. ก.
19. ข.
20. ข.

กระดาษทราย


วัตถุประสงค์ทั่วไป เข้าใจในการทำงานของกระดาษทราย
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หลังจากผู้เรียนผ่านการเรียนบทเรียนนี้แล้วจะแสดงพฤติกรรมดัง ต่อไปนี้
1. บอกคุณสมบัติของกระดาษทรายได้
2. บอกชนิดของกระดาษทรายได้
3. บอกสารยึดติดของกระดาษทรายได้
4. บอกวัสดุพื้นของกระดาษทรายได้
5. บอกความละเอียดของเบอร์ของกระดาษทรายได้





1. ประวัติ
กระดาษทรายเริ่มมีใช้ครั้งแรกในประเทศจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 กระดาษทรายในยุคนั้นทำจากเปลือกหอยบดละเอียด เมล็ดพืช และทราย ติดไว้บนหนังสัตว์ด้วยยางธรรมชาติ บางครั้งมีการใช้ผิวของปลาฉลามแทนกระดาษทราย เดิมกระดาษทรายรู้จักกันในชื่อ กระดาษแก้ว เนื่องจากใช้กากของแก้วเป็นส่วนประกอบ (มิใช่กระดาษแก้วในปัจจุบัน) เกล็ดหยาบบนฟอสซิลของปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth) ซึ่งเป็นปลาดึกดำบรรพ์ที่เกือบจะสูญพันธุ์ เคยถูกใช้เป็นกระดาษทรายโดยชนพื้นเมืองในประเทศคอโมโรส
กระดาษทรายถูกผลิตขึ้นด้วยเครื่องจักรเป็นครั้งแรกโดยบริษัทของจอห์น โอคีย์ (John Oakey) ในลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) ซึ่งได้พัฒนาเทคนิคและกระบวนการยึดติดของสารขัดถูสำหรับการผลิตในปริมาณมาก ส่วนกระบวนการผลิตกระดาษทรายด้วยเครื่องจักรได้รับการจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) โดยไอแซก ฟิสเชอร์ จูเนียร์ (Isaac Fischer Jr.) จากเมืองสปริงฟิลด์ มลรัฐเวอร์มอนต์
ในปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) สามเอ็ม (3M) ได้คิดค้นกระดาษทรายกันน้ำภายใต้ยี่ห้อ Wetordry™ และการใช้งานครั้งแรกนั้นเพื่อตกแต่งการทาสี
กระดาษทราย คือ กระดาษรูปแบบหนึ่งซึ่งมีสารขัดถูติดหรือเคลือบอยู่บนหน้าของกระดาษ ใช้สำหรับขัดพื้นผิวของวัสดุอื่นเพื่อให้วัสดุนั้นเรียบ หรือขัดให้ชั้นพื้นผิวเก่าหลุดออก หรือบางครั้งอาจทำให้พื้นผิวขรุขระมากขึ้นเพื่อเตรียมการติดด้วยกาว เป็นต้น



การผลิตกระดาษทราย
ขั้นตอนการผลิตกระดาษทราย
กระดาษทรายถูกผลิตขึ้นจาก 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
1. สารขัดถู
2 .สารยึดติด
3 .วัสดุพื้น

2. สารขัดถู
สารขัดถู เป็นส่วนสำคัญของกระดาษทราย เพราะถ้าเลือกผิดขนาด จะทำให้ประสิทธิภาพการขัดถูน้อยลง สารขัดถูที่ใช้ทำกระดาษทรายได้แก่ อะลูมิเนียมออกไซด์
แร่ชนิดนี้มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 3.9-4.1 สารขัดถูประเภทนี้มีความแข็ง เหมาะกับการขัดถูวัสดุที่ขัดได้ยาก เช่น พวกโลหะต่างๆ และเครื่องขัดพื้นที่เนรูปวงกลมก็ใช้อะลูมิเนียมออกไซด์เป็นสารขัดถูด้วยซิลิคอนคาร์ไบร์ เป็นสารขัดถูที่มีความแข็งและคมมากเหมาะกับงานที่ต้องการความสะอาดสูง และรวดเร็วมากใช้ในการทำความสะอาด ขัดถู ขัดเงา พวกพลาสติก แก้ว ไม้ หนัง และสารเคลือบผิวซิลิคอนคาร์ไบร์นำมาทำกระดาษทราย และกระดาษทรายน้ำ

เอเมอรี่
มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ประมาณ 4 มีคุณสมบัติเป็นสารแม่เหล็ก นอกจาทำกระดาษทรายและผ้าทรายแล้ว ยังนำมาทำหินเจียร ได้อีกด้วย

การ์เนต
แร่นี้มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 3.9-4.2 มีรูปเป็นผลึกเป็นรูปลูกเต๋า และมีส่วนประกอบทางเคมีที่ต่างกันทำให้แร่ชนิดนี้มีสีต่างๆ การ์เนตมีค่าสูงในอุสาหการมกระดาษทรายและผ้าทราย
ฟลิน เป็น ซิลิคอนไดออกไซด์ที่แข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ประมาณ 2.3 สารชนิดนี้เป็นที่มาของคำว่ากระดาษทราย เพราะ สมัยก่อนนิยมนำฟลินต์หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า ทราย มาเคลือบบนกระดาษ คนจึงเรียกว่ากระดาษทรายมาจนถึงทุกวันนี้

3. สารยึดติด
ได้แก่ พวกกาวต่างๆ มี 3 ชนิด
กาวที่ได้จากสัตว์
กาวที่ดัดแปลงมาจากพืชและเรซินจากธรรมชาติ
เรซิน ที่สังเคราะห์ขึ้น รวมทั้งพวกฟีโนลิก และยูเรีย

4. วัสดุพื้น
แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ กระดาษ ผ้า ยาง และวัสดุที่ แข็งซ้อนๆกันทั้ง 4 ชนิดนั้นนิยมใช้กระดาษมากที่สุด เพราะราคาถูก นำมาผลิตได้ทั้งกระดาษทรายแห้ง กระดาษทรายน้ำ ทั้ง แบบแผ่นและแบบม้วน
รูปที่ 1 กระดาษทรายน้ำ

รูปที่ 2 กระดาษทรายม้วน


รูปที่ 3 กระดาษทรายกลม

รูปที่ 4 กระดาษทรายแบบแท่ง

5.เบอร์ของกระดาษทราย(ระดับความละเอียด)


เบอร์ของกระดาษทราย(ระดับความละเอียด)

เบอร์ของกระดาษทราย(ระดับความละเอียด)

เบอร์ของกระดาษทราย(ระดับความละเอียด)


กระดาษทรายกับงานไม้
กระดาษทรายที่ใช้กับงานขัดไม้ ก่อนการทำสี

การขัดด้วยกระดาษทราย
การขัดไม้ก่อนทำสี จะมีลำดับการทำงานคือ การขัดหยาบ ขัดเรียบ ขัดละเอียด
ขัดหยาบ (Leveling) เป็นการขจัดจุดบกพร่องบนพื้นผิว ลบรอยจากเครื่องจักร/เครื่องมือ ให้ใช้เบอร์ 120 หรือ P120 แต่หากผิวหยาบมาก ก็ให้ใช้ 80 หรือ P80 ก่อน จึงตามด้วย 120 หรือ P120
ขัดเรียบ (Uniforming) เป็นการลดรอยกระดาษทรายจากขั้นตอนแรก ให้ใช้เบอร์ 180 หรือ P180 สำหรับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก ก็สามารถขัดถึงขั้นนี้ แต่หากเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ ควรขัดละเอียดต่อไปอีก
ขัดละเอียด (Polishing) - เป็นการขัดที่ทำให้พื้นผิวราบเรียบ จนมองไม่เห็นรอยกระดาษทราย (ด้วยตาเปล่า) ให้ใช้เบอร์ 240 หรือ P280
การขัดผิวสีเคลือบ ให้ขัดด้วยเบอร์ 320 หรือ P400
การขัดให้ขัดตามลำดับ อย่าขัดข้ามเบอร์ จะทำให้เสียเวลา และเปลืองกระดาษทราย
กระดาษทรายขัดไม้มี เบอร์ตั้งแต่ 0-5 เบอร์น้อยยิ่งมีความละเอียดมาก เวลาขัดนิยมตัดหรือพับให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ใช้ไม้เป็นตัวรอง หรือใช้พับทบไปมาแล้วลูบด้วยมือก็ได้

รูปที่ 5 กระดาษทราย ตราจระเข้


การนำไปใช้งาน
ใช้สำหรับขัดไม้ ทำเป็นแผ่นสำเร็จมาขนาดประมาณ A4 มีเบอร์ที่นิยมอยู่ระหว่าง 0-5 เบอร์ยิ่งมากก็ ยิ่งหยาบ บางทีก็เอาเบอร์0ไปขัดในระหว่างงานสี ได้ด้วยเช่นกัน กระดาษทรายชนิดนี้ใช้กันมานานมากแล้ว เนื้อทรายจะไม่หนามาก ตัวกระดาษทรายจะอ่อนกว่า ไม่สามารถขัดร่วมกับน้ำได้


รูปที่ 6 กระดาษทรายแดง
การนำไปใช้งาน
ใช้กับงานขัดไม้ นิยมขายเป็นม้วน แบ่งขายเป็นเมตร ตัดแบ่งขัดกับเครื่องขัดสั่นก็ได้ หรือจะขัดกับมือก็ได้ มีเบอร์ที่หยาบ-ละเอียด เช่นกัน ให้เนื้อกระดาษทรายมากกว่าแบบแผ่นสีเหลือง เนื้อกระดาษแข็งกว่า มีเนื้อทรายมากกว่า นอกจากนี้ยังมีผลิตมาแบเป็นผ้าทรายด้วยเช่นกัน

รูปที่ 7 กระดาษทรายสายพาน

การนำไปใช้งาน
ใช้กับเครื่องขัดสายพาน(รถถัง) มีเบอร์ หยาบ-ละเอียด ที่นิยมได้แก่ 60 - 80 -100 - 120 เป็นต้น ยิ่งเบอร์มากก็จะให้ความละเอียดของกระดาษทรายมาก

กระดาษทรายที่ใช้กับงานสี
งานสีพ่น

รูปที่ 8 กระดาษทรายน้ำ
การนำไปใช้งาน
ใช้กับงานสีที่ขัดกับน้ำ เช่นสีพ่น เพราะจะทำให้สีพ่นนั้นขัดออกมาง่าย โดยใช้น้ำเป็นตัวช่วยในการคายเศษผงขัด ส่วนตัวกระดาษทรายก็ทนกับน้ำได้อย่างดี มีการแบ่งเบอร์ตามลักษณะการทำงานเช่น 180 - 220 - 240 - 280 - 320 - 400 - 600 เป็นต้น ยิ่งเบอร์มากขึ้นก็ยิ่งจะมีความละเอียดของผิวกระดาษทรายมากขึ้น


งานสีกลุ่ม แลคเกอร์ ยูรีเทน

รูปที่ 9 กระดาษทราย ยูรีเทน หรือกระดาษทรายนม หรือกระดาษทรายสบู่
การนำไปใช้งาน
ใช้กับการขัดแลคเกอร์หรือยูรีเทน จะให้การขัดที่รักษาผิวไม่เป็นรอยลึก และขัดง่าย จะมีลักษณะของเนื้อทรายที่ผสมสารชนิดหนึ่งที่ทำให้การขัดสีทำได้ง่าย สีหลุดไม่จับกระดาษทราย มีการแบ่งเบอร์ตามลักษณะการทำงานเช่น 180 - 220 - 240 - 280 เป็นต้น ยิ่งเบอร์มากขึ้นก็ยิ่งจะมีความละเอียดของผิวกระดาษทรายมากขึ้น


กระดาษทรายน้ำ "STAR WORLD'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-1000
ราคา 3 บาท
144/pack

กระดาษทรายน้ำจระเข้ 3 ดาว "CROCODILE 3 STARS'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-1200
ราคา 7-9 บาท
100/pack

กระดาษทรายน้ำ "MIX'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา 7 บาท
50/pack

กระดาษทรายน้ำ "SIA'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา 7-9 บาท
100/pack

กระดาษทรายน้ำ "TOA'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายน้ำ "RJA'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา 7-9 บาท
100/pack

กระดาษทรายน้ำ "SUN FLAG'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายน้ำ "MT'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-5000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายน้ำ "TOA'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายน้ำ "NITTO'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายน้ำ "FUFI SUN'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายน้ำMIRKA "ECO WET'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายน้ำ"KOWAX'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายน้ำ"NORTON'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-2000
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายแห้ง ตราจระเข้ 3 ดาว"CROCODILE 3 STARS'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-400
ราคา โทรเช็ค
144/pack

กระดาษทรายแห้ง RJA "101A'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-400
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายแห้ง RJA "06B'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-400
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายแห้ง RJA "06B'' ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-400
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายแห้ง NORTON "SA167" ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-400
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายแห้ง NORTON ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-400
ราคา โทรเช็ค
100/pack

กระดาษทรายแห้ง RMC "C14PM" ขนาด 9"x11"
เบอร์ #80-400
ราคา โทรเช็ค
100/pack

function gopg(p)
{
document.forms['form1'].pageno.value=p;
document.forms['form1'].target="";
document.forms['form1'].submit();
}


คำถามท้ายบท
1.กระดาษทรายถูกผลิตขึ้นกี่ส่วนใหญ่ๆ
ก. หนึ่งส่วนใหญ่
ข. สองส่วนใหญ่
ค. สามส่วนใหญ่
ง. สี่ส่วนใหญ่
2.ข้อใดเป็นสารขัดถู
ก. ทังสเตน
ข. คาร์บอนไดออกไซด์
ค. อะลูมิเนียมออกไซด์
ง. ไฮโดรเจน
3.กระดาษทรายตั้งแต่เบอร์ไหนใช้ขัดส่วนเกินเหมาะที่สุด
ก. เบอร์ 40-120
ข. เบอร์ 150-320
ค. เบอร์ 400-1000
ง. เบอร์ 1200-2000
4.กระดาษทรายตั้งแต่เบอร์ไหนใช้ขัดตกแต่งเหมาะที่สุด
ก. เบอร์ 40-120
ข. เบอร์ 150-320
ค. เบอร์ 400-1000
ง. เบอร์ 1200-2000
5.กระดาษทรายตั้งแต่เบอร์ไหนใช้ขัดแต่งพื้นผิวเหมาะที่สุด
ก. เบอร์ 40-120
ข. เบอร์ 150-320
ค. เบอร์ 400-1000
ง. เบอร์ 1200-2000
6.กระดาษทรายตั้งแต่เบอร์ไหนใช้ขัดเก็บเรียบเหมาะที่สุด
ก. เบอร์ 40-120
ข. เบอร์ 150-320
ค. เบอร์ 400-1000
ง. เบอร์ 1200-2000

7.ส่วนที่อยู่ลึกในซอกที่มือไม่สามารถเข้าไปล้วงขัดได้นั้น
ควรใช้วิธีใด
ก. ตัดกระดาษเป็นแผ่นเล็กๆแล้วติดกาวลงบนด้ามไม้
ข. ตัดกระดาษเป็นแผ่นใหญ่ๆแล้วติดกาวลงบนด้ามไม้
ค. ตัดไม้เป็นชิ้นเล็กๆแล้วติดกาวลงบนกระดาษ
ง. ผิดทุกข้อ

8.รูปดังต่อไปนี้คือกระดาษทรายชนิดใด
ก. กระดาษทรายกลม
ข. กระดาษทรายม้วน
ค. กระดาษทรายน้ำ
ง. กระดาษทรายแบบแท่ง

9.รูปดังต่อไปนี้คือกระดาษทรายชนิดใด
ก. กระดาษทรายกลม
ข. กระดาษทรายม้วน
ค. กระดาษทรายน้ำ
ง. กระดาษทรายแบบแท่ง

10.รูปดังต่อไปนี้คือกระดาษทรายชนิดใด
ก. กระดาษทรายกลม
ข. กระดาษทรายม้วน
ค. กระดาษทรายน้ำ
ง. กระดาษทรายแบบแท่ง

11.รูปดังต่อไปนี้คือกระดาษทรายชนิดใด
ก. กระดาษทรายกลม
ข. กระดาษทรายม้วน
ค. กระดาษทรายน้ำ
ง. กระดาษทรายแบบแท่ง

12.พื้นผิวที่มีความโค้งเว้าเราควรทำอย่างไร
ก. งอกระดาษทรายให้โค้งตามพื้นผิว แล้วก็ลงมือขัดได้เลย
ข. พับกระดาษทรายให้โค้งตามพื้นผิว แล้วก็ลงมือขัดได้เลย
ค. ฉีกกระดาษทรายให้โค้งตามพื้นผิว แล้วก็ลงมือขัดได้เลย
ง. ถูกทุกข้อ

13.กระดาษทรายใช้งานอย่างไร
ก. ใช้บันทึกงาน
ข. ใช้ขัดกับวัสดุ
ค. ใช้ทำความสะอาด
ง. ใช้เขียนแบบงาน

14.ทำไมวัสดุที่มีเนื้อแข็งและทนทาน ควรจะใช้แผ่นโลหะหรือกระจกรองไว้
ก. เพื่อไม่ทำให้รูปทรงเสีย
ข. เพื่อความสะอาด
ค. เพื่อความสะดวก
ง. ผิดทุกข้อ

15.การศึกษาอายุการใช้งานของกระดาษทรายเพื่ออะไร
ก. เพื่อหาเวลาในการเปลี่ยนกระดาษทราย ที่เหมาะสม
ข. เพื่อช่วยลดเวลาในการขัดงานให้น้อยลง
ค. เพื่อให้ได้งานที่ดียิ่งขึ้น
ง. ถูกทุกข้อ

16. ถ้าต้องการขัดไม้ควรเลือกกระดาษทรายที่มีสารขัดถูใด
ก. ซิลิคอนคาร์ไบร์
ข. อะลูมิเนียมออกไซด์
ค. เอเมอรี่
ง. ฟลิน

17. ถ้าต้องการขัดชิ้นงานที่เป็นโลหะ ควรเลือกกระดาษทรายที่มีสารขัดถูใด
ก. ซิลิคอนคาร์ไบร์
ข. อะลูมิเนียมออกไซด์
ค. เอเมอรี่
ง. ฟลิน

18. สารขัดถูเอเมอรี่นอกจากนำมาทำกระดาษทรายแล้วและผ้าทรายแล้วยังสามารถทำอะไรได้อีก
ก. ทำมีด
ข. หินเจีย
ค. ทำถ้วยชาม
ง. ไม่มีข้อถูก

19. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่วัสดุพื้นที่นำมาทำกระดาษทราย
ก. กระดาษ
ข. ผ้า
ค. ยาง
ง. แก้ว

20. สารยึดติด ได้แก่พวกกาวต่างๆ มี 3 ชนิด ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่
ก. กาวที่ได้จากสัตว์
ข. กาวที่ดัดแปลงมาจากพืช
ค. เรซิน ที่สังเคราะห์ขึ้น รวมทั้งพวกฟีโนลิกและยูเรีย
ง. กาวแป้งเปียก






















เฉลยคำถามท้ายบท
1.ค
2.ค
3.ก
4.ข
5.ค
6.ง
7.ก
8.ก
9.ค
10.ข
11.ง
12.ก
13.ข
14.ก
15.ง
16.ก
17.ข
18.ข
19.ง
20.ง